ในปี 2011 Cesium ถูกพัฒนาโดย Analytical Graphics, Inc. (AGI) จากนั้นในปี 2019 ทีมพัฒนา Cesium แยกตัวออกจาก AGI และได้ก่อตั้งบริษัทใหม่ใช้ชื่อว่า Cesium โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยี 3D และแพลตฟอร์มที่ใช้ประโยชน์จาก 3D Tiles ซึ่งเป็นมาตรฐาน Open Source สำหรับสตรีมข้อมูล 3D ขนาดใหญ่เป็นหลัก จนกระทั่งในปี 2023 Cesium เริ่มขยายตลาดไปยังด้านการพัฒนา Smart City และการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานทำให้มีเมืองต่างๆ ทั่วโลก เลือกใช้ Cesium เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการทำ Smart City เช่น เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์, เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, เมืองแรนส์ ประเทศฝรั่งเศส และ เมืองนอตทิงแฮม สหราชอาณาจักร
ในปี 2024 Bentley Systems ได้เข้าซื้อกิจการ Cesium และใช้ชื่อใหม่ว่า Cesium Part Of Bentley System ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเข้าสู่ยุคของเทคโนโลยี Digital Twin ที่มุ่งเน้นการควบรวมขีดความสามารถของ Cesium และ iTwin Platform เข้าด้วยกัน
Cesium เป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังสำหรับการจัดการข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศ (3D Geospatial) และมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ช่วยให้ทำงานร่วมกับข้อมูล 3D ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มี 7 ฟีเจอร์ที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลจาก Cesium ได้ ประกอบไปด้วย
เป็น Host สำหรับสร้างและจัดเก็บข้อมูล 3D บน Cloud
เป็นไลบรารี JavaScript แบบ open source สำหรับสร้าง 3D Geospatial รูปแบบ Web Application
ถูกออกแบบมาเพื่อขยายไลบรารี JavaScript ของ CesiumJS
ช่วยผสานข้อมูล geospatial 3D เข้ากับ Unreal Engine และเรนเดอร์ข้อมูล 3D ให้มีสภาพแวดล้อมที่สมจริงและความละเอียดระดับสูง
เป็น Plugin บน Unity Engine สร้างขึ้นบนรูปแบบ open standards และ APIs
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับโปรแกรม NVIDIA Omniverse เพื่อพัฒนาการทำงานกับ 3D geospatial ของ Cesium
คือ Real-Time 3D engine แบบ รองรับระบบกราฟิกโอเพนซอร์ส
Cesium ion ทำหน้าที่เป็น Host สำหรับสร้างและจัดเก็บข้อมูล 3D บน Cloud เมื่อผู้ใช้งานอัพโหลดแล้ว ข้อมูลจะถูกปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานในแอปพลิเคชัน 3D Geospatial ตามรูปแบบที่ Cesium ion ได้แบ่งประเภท (Asset Type) ซึ่งได้แก่ 3D Tiles , Imagery, Terrain, glTF และ Native เพื่อง่ายและสะดวกต่อการเรียกใช้งานจาก Platform อื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
Format | 3D Tiles | Terrain | Imagery | glTF | Native |
Zip Archive (.zip) | |||||
glTF (.gltf, .glb) | |||||
Filmbox (.fbx) | |||||
CityGML (.citygml, .xml, .gml) | |||||
CZML (.czml) | |||||
GeoJSON (.json, .geojson, .topojson) | |||||
KML (.kml, .kmz) | |||||
LASer (.las, .laz) | |||||
COLLADA (.dae) | |||||
Wavefront OBJ (.obj) | |||||
IFC (.ifc) | |||||
Floating Point Raster (.flt) | |||||
Arc/Info ASCII Grid (.asc) | |||||
Source Map (.src) | |||||
GeoTIFF (.tiff, .tif) | |||||
Erdas Imagine (.img) | |||||
USGS ASCII DEM and CDED (.dem) | |||||
JPEG (.jpg, .jpeg) | |||||
PNG (.png) | |||||
Cesium Terrain Database (.terraindb) |
CesiumJS เปิดตัวภายใต้ Apache 2.0 license เป็นไลบรารี JavaScript แบบ open source สำหรับสร้าง 3D Geospatial รูปแบบ Web Application รองรับระบบพิกัดโลก WGS84 ที่มีความแม่นยำสูง ทำให้ CesiumJS ได้รับความนิยมสูงในการนำไปสร้าง Smart city เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับ Cesium ion เพื่อดึงข้อมูลมาใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถเชื่อมโยงระบบ IoT Sensor เข้ามาแสดงผลบน Web ได้ และสามารถสร้างเครื่องมือ ปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลได้อย่างไม่จำกัด
Cesium ion SDK ถูกออกแบบมาเพื่อขยายไลบรารี JavaScript ของ CesiumJS เพื่อรองรับการโต้ตอบกับ Cesium ion REST API สามารอัพโหลด จัดการ หรือดึงข้อมูล (Assets) จาก Cesium ion โดยตรงผ่าน REST API และการตั้งค่าเพื่อควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของผู้มีส่วนร่วม อีกทั้งยังสามารถสร้างเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล 3D เช่น Measurement tools, Sensor geometries และ Transform editor
Cesium for Unreal เป็น Plugin บน Unreal Engine สร้างขึ้นบนรูปแบบ open standards และ APIs เพื่อช่วยผสานข้อมูล geospatial 3D เข้ากับ Unreal Engine และเรนเดอร์ข้อมูล 3D ให้มีสภาพแวดล้อมที่สมจริงและความละเอียดระดับ High-End โดยอ้างอิงภูมิประเทศผ่านระบบพิกัด WGS84 สามารถดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ Cesium ion ได้โดยตรง รองรับการใช้ Blueprints และ C++ รองรับการทำงานผ่าน Cloud, Private network content และ services based บนระบบ open standards และ APIs รวมถึง CesiumJS เพื่อปรับแต่งรูปแบบการแสดงผล (end-to-end workflow) เหมาะกับงานที่ต้องการแสดงผลผ่าน PC, Console, และ VR เป็นต้น
Cesium for Unity เป็น Plugin บน Unity Engine สร้างขึ้นบนรูปแบบ open standards และ APIs มีหลักการทำงานเช่นเดียวกันกับ Cesium for Unreal โดยจะแตกต่างกันที่ Cesium for Unity เสมือนเป็นตัวพื้นฐาน เน้นการพัฒนาภาพ 2D และ 3D ในรูปแบบอย่างง่าย เน้นการทำงานที่รวดเร็ว ไม่ซับซ้อนและต้องการความยืดหยุ่นสูง รองรับการปรับแต่งด้วย C# และ Unity Editor เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแสดงผลรูปแบบ AR/VR, Moblie และ WebGL
Cesium for Omniverse คือ เครื่องมือเสริม (extension) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับโปรแกรม NVIDIA Omniverse เพื่อพัฒนาการทำงานกับ 3D geospatial ของ Cesium สู่รูปแบบ Real-time 3D graphics ด้วยเทคโนโลยี Ray-Tracing เพื่อสร้างการแสดงผลภาพเกิดความสมจริง มีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกับภาพยนตร์ในรูปแบบ Real-Time และมีระบบ AI สำหรับช่วยวิเคราะห์ 3D geospatial
03DE (Open 3D Engine) คือ Real-Time 3D engine แบบรองรับระบบกราฟิก open source เช่น Vulkan และ DirectX 12100% ผ่านการร่วมมือกับ The Linux Foundation ภายใต้ Apache 2.0 License มีระบบ Level of Detail (LOD) เพื่อจัดระดับข้อมูลสำหรับการสตรีมและการแคชข้อมูล 3D geospatial ขนาดใหญ่ สามารถทำงานร่วมกับ O3DE Script Canvas รองรับการใช้ API คณิตศาสตร์ที่มีความแม่นยำสูง (double precision)
รายละเอียดในการทำงานร่วมกับ 3D geospatial เช่นเดียวกับ Cesium for Unreal, Cesium for Unity และ Cesium for Omniverse จะแตกต่างกันที่ Cesium for O3DE ใช้ภาษา C++ เป็นหลัก และรองรับการใช้งาน Lua เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่ง Application ด้วยตนเอง และจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านการใช้งานผ่านโค้ด
Cesium เป็นแพลตฟอร์มระบบ Open Source ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลได้อย่างอิสระ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับงานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
Case study: Smart Construction with Cesium and Komatsu
Komatsu ร่วมกับ Cesium สร้าง Applications “Smart Construction” โดยใช้ 3D tiling pipelines และ Visualization Engine เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ก่อสร้างได้ Real-Time ผ่านระบบ Digital สามารถนำข้อมูล Drone surveys (point clouds, DTM/DSM, orthoimages), ข้อมูลเครื่องจักรบนไซต์งาน และ 3D models (CAD, TIN) เข้ามาสร้างโมเดลในแอปพลิเคชั่นได้ และสามารถส่งออกข้อมูล Charts และ reports รูปแบบ PDF หรือ CSV ได้
Case study: Simulates Offshore Wind Farms with Cesium and iTwin
การสร้างโมเดล Offshore Wind Farms ด้วยเทคโนโลยี Digital Twin โดยผสมผสาน Bentley’s iTwin Capture, BIM Models, CAD Models, Point Clouds, IoT, Drone และ Forecast Weather เข้าด้วยกัน เพื่อตรวจเช็คสิ่งปลูกสร้างได้แบบ Real-Time ทั้งเหนือน้ำและใต้น้ำ อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถปรับการแสดงผลเป็นรูปแบบ VR เพื่อให้ผู้บินโดรนได้ฝึกฝนการบินแบบ Digital ก่อนเริ่มบินจริงเพื่อตรวจสอบกังหัน และเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับทรัพย์สินและคนทำงาน
Case study: Skydio’s Newest Autonomous Drone Software Brings Cesium to the Field
ซอฟต์แวร์ Skydio’s ได้นำ Cesium ไปสร้างฟีเจอร์สำหรับแสดงผลการถ่าย 3D Scan ชื่อว่า “Edge Model Viewer” ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูชุดข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นจาก 3D Scan ได้ทันที และแสดงผลออกมาเป็นภาพตัวอย่าง 3D Model ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูได้ว่าภาพที่ได้ถ่ายมาครอบคลุมทุกมุมมองสำหรับการนำไปสร้าง 3D Model แล้วหรือยัง เพื่อให้สามารถถ่ายซ่อมหรือถ่ายเพิ่มเติมได้ทันที และข้อมูลถูกต้องครบถ้วนสำหรับการนำไปประมวลผลต่อในซอฟต์แวร์สร้างโมเดล เช่น iTwin Capture Modeler
Case study: Skydio’s Flightradar24's CesiumJS App
Flightradar24 เป็น Application สำหรับติดตามเที่ยวบินแบบ Real-Time ที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย Flightradar24 ถูกสร้างขึ้นโดย CesiumJS สามารถใช้งานได้ทั้งบนเว็บเบราว์เซอร์และโทรศัทพ์มือถือ ผู้ใช้งานสามารถดูแผนที่การบินได้ทั้งรูปแบบ 2D และ 3D (มีค่าใช้จ่าย) อีกทั้งยังสามารถดูรายละเอียดเที่ยวบิน เช่น flight number, speed, destination, altitude, และ arrival time ได้ครบถ้วน
Case study: Cesium Makes Commercial Real Estate Analysis More Accessible for JLL Brokers
บริษัท JLL หนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้นำเทคโนโลยีต่างๆที่เกิดขึ้นในยุดปัจจุบันเข้ามาทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น Sensor IoT ไปจนถึงตู้ Kiosks เพื่อให้ผู้ใช้งานและลูกค้าสามารถค้นหาและจัดการทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้ใช้ CesiumJS สร้าง platform ชื่อว่า “Blackbird” ที่จะรวบรวมชุดข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเข้าด้วยกันเพื่อแสดงผลสนับสนุนการขายที่ดิน เช่น ข้อมูลอาคาร 3 มิติ, ข้อมูลประชากร, ข้อมูลภาษี และข้อมูลการคมนาคม เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างครบวงจรและเข้าใจภาพรวมของที่ดินได้ดียิ่งขึ้น
Case study: Cesium Supporting State-Sized Digital Twins
ทางประเทศออสเตรเลียใช้ TerriaJS และ Cesium เพื่อสร้าง Smart City ผ่านเทคโนโลยี Digital Twin โดยการนำชุดข้อมูลต่างๆ ที่ทางหน่วยงานรัฐได้จัดทำขึ้นมาแสดงผลบนแพลตฟอร์มเดียว และมีการอัพเดตข้อมูลต่างๆ แบบ Real-Time อีกทั้งยังมีการใช้ระบบ AI, Simulation, และ Machine Learning เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงผล โดยข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบควบคุมการเข้าถึง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดระดับการเข้าถึงให้แต่ละบุคคลรวมถึงประชาชนทั่วไปได้
Smart City นี้ไม่เพียงแค่ใช้สำหรับตรวจสอบสถานการณ์ต่างๆ แบบ Real-Time เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถจำลองสถานการณ์ต่างๆ ได้ เช่น Cesium 3D terrain สามารถตรวจสอบข้อมูลน้ำท่วมในอดีตและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมได้ สามารถคาดการณ์การจราจรติดขัด และสามารถวิเคราะห์แผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปรับปรุงบริการต่างๆ ได้